บทสรุปการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

บทสรุปการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย,บทสรุปการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย,ดังเป็นที่ทราบดีว่าในทุกรัฐธรรมนูญจะมีหลักการสําคัญอันหนึ่งที่กําหนดไว้ว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติ หรือการกระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้แต่ในรัฐธรรมนูญฉบ

     ดังเป็นที่ทราบดีว่าในทุกรัฐธรรมนูญจะมีหลักการสำคัญอันหนึ่งที่กำหนดไว้ว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติ หรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560ได้ให้ความสำคัญและคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยได้กำหนดเพิ่มเติมไว้ในมาตรา 77 โดยกำหนด กรอบการตรากฎหมายและการใช้กฎหมาย มิให้รัฐใช้อำนาจของรัฐทำให้ประชาชนต้องเสียสิทธิหรือเสรีภาพเกินควร เพื่อสอดคล้องกับหลักสากล เพื่อมิให้มีกฎหมายที่สร้างภาระเกินจำเป็นแก่ประชาชน 

     ต่อมาเพื่อความชัดเจนและการปฏิบัติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 นี้ จึงได้มีการตรากฎหมายขึ้นมาอีก หนึ่งฉบับเพื่อการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย การตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย การรับฟัง ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายเพื่อประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย และการเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นแลการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน หลักเกณฑ์การตรวจสอบเนื้อหาของร่าง กฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุญาต ระบบคณะกรรมการ การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ระยะเวลาในการดำเนินการตาม ขั้นตอนต่างๆ และการกำหนดโทษอาญา เพื่อให้การตรากฎหมายเป็นไปโดยละเอียดรอบคอบ ไม่สร้างภาระแก่ ประชาชนเกินความจำเป็น ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ภายหลังเมื่อกฎหมายมีผล บังคับใช้แล้วเพื่อพัฒนากฎหมายให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปและการเข้าถึงบทบัญญัติของ กฎหมายของประชาชน นั่นคือ พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ กฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ทั้งนี้ พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่าง กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ได้กำหนดแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ไว้ดังนี้ คือ

  1. ให้ประเมินว่าการบังคับใช้กฎหมายได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ของการตรากฎหมายนั้นมากน้อยเพียงใด

  2. คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและประชาชนหรือไม

  3. มีผลกระทบอื่นอันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนหรือไม

     ซึ่งหากได้มีการพิจารณาวัตถุประสงค์ของการตราพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551ได้ ระบุวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ คือ “โดยที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ ครอบครัว อุบัติเหตุและ อาชญากรรม ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ สมควรกำหนดมาตรการต่างๆ ในการควบคุม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยลดปัญหาและ ผลกระทบทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ช่วยสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนโดยให้ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ตลอดจนช่วยป้องกันเด็กและเยาวชนมิให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้”

     เมื่อมีการพิจารณาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นเวลากว่า 12 ปี พบว่าการบังคับใช้กฎหมายและกฎต่างๆ นี้มีหลายมาตราที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์และเป็นอุปสรรคโดยส่งผล กระทบโดยรวมทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจ การค้าขาย การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม สถานบริการ ร้านค้าปลีก สื่อสารมวลชน บาร์เทนเดอร์ พนักงานเสิร์ฟ เป็นต้น โดยเฉพาะด้านความเข้าใจกฎหมายเพื่อการปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ประสิทธิภาพในการ บังคับใช้กฎหมาย และผลกระทบต่างๆ จากการบังคับใช้กฎหมายน

     จึงเสนอให้มีการพิจารณาทบทวนจากผู้ที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนอย่างรอบด้าน รวบรวมเพื่อประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบที่ เกิดขึ้น และพิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็น ล้าสมัย หรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ ปัจจุบัน หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนและ ผู้ประกอบการต่อไป